วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์
ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้

1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
      ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป

2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
      การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น

3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ 
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้

4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย 
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา

5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง 
    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ

ความหมายของ app

ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน  คุณอาจเคยเห็นหน้าจอบนโทรศัพท์ที่มีแสดง วันที่และเวลาหรือบางคนก็แสดงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งโทรศัพท์แต่ละเครื่องก็อาจมีความแตกต่างกันออกไป แต่คุณเคยตั้งข้อสังเกตุหรือไม่ว่า ทำไมโทรศัพท์แต่ละเครื่องจึงมีหน้าจอที่แตกต่างกัน ทั้งๆที่เป็นยี่ห้อหรือแบรนด์เดียวกัน วันนี้จะมาไขข้อข้องใจให้ครับ สาเหตุก็เพราะเจ้า Widgets นั่นเอง AppและWidgets ต่างกันอย่างไร

ความหมายของ App และ Widgets

  • App ย่อมาจากคำเต็มว่า Application หรือพูดง่ายๆ ก็คือ โปรแกรมนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ หรือโปรแกรมตกแต่งภาพ ก็เรียกว่า แอพฯ เช่นเดียวกัน  แอพฯ มักจะแสดงแบบเต็มหน้าจอเสมอ
  • Widgets หมายถึง โปรแกรมเช่นกัน แต่จะต่างกัน ตรงนี้ จะแสดงตลอดเวลา และมักจะแสดงไม่เต็มหน้าจอโทรศัพท์ ตัวอย่าง Widgets ที่เห็นบ่อยๆ ได้แก่ นาฬิกา หรือ สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

ตัวอย่างการเรียก Widgets มาใช้งาน

  1. แตะปุ่ม Menu
  2. แตะไอคอน Add (+)
  3. แตะเลือก Widgets
  4. จะพบหน้าจอแสดง Widgets ให้เลือก
  5. ลองเลือกสัก Widget เช่น นาฬิกา เป็นต้น
  6. จะพบ Widget แสดงที่หน้าจอนั้นๆ

วิธียกเลิก หรือเอา Widgets ออก

  1. ไปยังหน้าที่ Widgets แสดงอยู่
  2. แตะที่ Widgets นั่นๆ ค้างไว้สักครู่
  3. จะเห็นเมนู Remove แสดงให้เห็น
  4. ลาก Widgets นั้น ๆ มายังคำว่า Remove เพื่อลบออก
ทดสอบการโทรศัพท์สมาร์ทโฟน Samsung แอนดรอยด์ 2.3

ทิปเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Widgets

  • การลบ Widgets ออกจากหน้าจอ ไม่ได้หมายความว่า เป็นการถอดถอน Widgets ออกจากเครื่อง เป็นเพียงการเอา Widgets ออกจากหน้าจอเท่านั้น และเราก็สามารถนำ Widgets ที่ต้องการมาแสดงได้ตลอดเวลา
ส่วนวิธีการเรียกใช้ App นั้น ก็เพียงแตะที่ไอคอนของ App ที่ต้องการ และก็ขึ้นกับแอพฯนั้นๆว่า ผู้สร้างมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแอพฯนั้นๆอย่างไร

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยความจำ


หน่วยความจำแบบ แรม


หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU  มีความหมาย
ทางด้านฮาร์ดแวร์ อย่าง คือ
1.              ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์2.   ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่

1.หน่วยความจำหลัก
  แบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ แรม (RAM)และหน่วยความจำแบบรอม”(ROM)
  1.หน่วยความจำแบบ แรม    (RAM=Random Access Memory)
   เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
ชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip)

หน่วยความจำสำรอง 
(Secondary Memory Unit)หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วย
เก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่อง
คอมพิมเตอร์แล้ว หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามา
ประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสัญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของ
สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ   ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนที่1 CPUCPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง  มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)
ส่วนที่หน่วยความจำ (Memory)จำแนกออกเป็น  ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
 ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ
1.              หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ต่อ
2.              การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่
3.              ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล       
4.              และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วย
5.              ความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่
6.              สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ
7.              จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถ
8.              เก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะ
9.              ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น